โครงสร้างพื้นฐาน

ระบบการขนส่งและโลจิสติกส์ที่ครอบคลุม
ช่วยเพิ่มพูนมูลค่าการลงทุน

การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเชื่อมโยงการเดินทางคมนาคมขนส่ง
และโลจิสติกส์ เพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน
  • ลดเวลาการเดินทาง
  • ประหยัดค่าขนส่ง
  • เชื่อมโยงกันอย่างไร้รอยต่อ
  • พร้อมรองรับธุรกิจและการค้า

รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน

เชื่อมโยงการเดินทางระหว่าง สนามบินดอนเมือง สนามบินสุวรรณภูมิ และสนามบิน
อู่ตะเภา ให้มีความรวดเร็วและสะดวกสบาย
ด้วยความเร็ว 250 กิโลเมตร/ชั่วโมง

โครงการศึกษาการจัดการมลพิษ
ทางอากาศในพื้นที่อุตสาหกรรมมาบตาพุด เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ดำเนินการโดยสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ร่วมกับสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา รวบรวม และวิเคราะห์สถานการณ์การระบายมลพิษทางอากาศของไนโตรเจนออกไซด์ (NOx) ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) และสารอินทรีย์ระเหย (Volatile Organic Compounds: VOCs) (โดยเฉพาะสารเบนซีน สาร 1,3-บิวทาไดอีน และสาร 1,2-ไดคคลอโรอีเทน) จากแหล่งกำเนิดประเภทโรงงานในพื้นที่มาบตาพุดหรือเขตควบคุมมลพิษมาบตาพุด พร้อมทั้ง ศึกษาทบทวนหลักเกณฑ์ 80:20 ตามการปฏิบัติที่ผ่านมา และวิธีการจัดการด้านการระบายมลพิษที่ดำเนินการจากในอดีตถึงปัจจุบัน รวมทั้งวิเคราะห์ความสามารถในการขยายตัวของอุตสาหกรรมในพื้นที่ ตลอดจนการรับฟังความคิดเห็น การมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปสู่การเสนอแนะเชิงนโยบาย เพื่อให้เกิดการปฏิรูปที่มีความเหมาะสมและการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืนที่ชัดเจนและเหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ต่อไป

อ่านต่อ

ท่าเรือแหลมฉบัง
ระยะที่ 3

เพิ่มขีดความสามารถในการรองรับตู้สินค้าเป็น 18 ล้านตู้ต่อปี และรถยนต์จำนวน 3 ล้านคันต่อปี พร้อมทั้งติดตั้งระบบจัดการตู้สินค้าแบบอัตโนมัติ (Automation) เพื่อพัฒนาเป็นศูนย์กลางการขนส่งสินค้าของภูมิภาคอินโดจีน และประตูการค้าที่สำคัญของภูมิภาค พร้อมก้าวสู่การเป็นท่าเรือระดับโลก (World-Class Port)

อ่านต่อ

ท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3

เพิ่มขีดความสามารถและความจุในการขนถ่ายก๊าซธรรมชาติและสินค้าเหลว
สำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เพื่อรักษาความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ
และเมื่อพัฒนาแล้วเสร็จ จะสามารถรองรับการขนส่งได้ 31 ล้านตันต่อปี

อ่านต่อ

โครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล

ประเทศไทยได้กำหนด 5 ยุทธศาสตร์หลัก
เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล ได้แก่ กฎหมายดิจิทัล รัฐบาลดิจิทัล
ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ นวัตกรรมด้านเทคโนโลยี และการพัฒนาบุคลากรด้านดิจิทัล

สำหรับการพัฒนาของ อีอีซี รัฐบาลได้เปิดตัว เขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล (EECd) ใน จ. ชลบุรี เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมใหม่ เช่น หุ่นยนต์ การบิน ธุรกิจดิจิทัล เชื้อเพลิงชีวภาพ และเคมีชีวภาพ

โครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล

 
 

เสาอัจฉริยะ

 

ASEAN Digital Hub

 

Advanced Big Data Cloud & Data Center

 

โครงสร้างพื้นฐาน loT 

 

ศูนย์ทดสอบ 5G

 

การพัฒนาด้านดิจิทัลและนวัตกรรม

 
 

Advanced Big Data Cloud & Data Center
 

 

เขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล และสถาบัน IoT

 

loT
Smart city

 

ระบบนิเวศดิจิทัลในประเทศไทย
สถิติผู้ใช้ดิจิทัลของคนไทย

  • ผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 1ล้านคนที่มา: Hootsuite; WeAreSocial,
    Global Digital Report 2019

  • ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ 1ล้านคน ที่มา: NBTC ณ  2562

  • ผู้ใช้ LINE 1ล้านคน ที่มา: LINE ณ ปี 2562

  • ผู้ใช้ Facebook 52ล้านคน ที่มา: Hootsuite; WeAreSocial,
    Global Digital Report 2019

  • E-Payment 1ล้านเหรียญสหรัฐ ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย
    ณ 2561

  • E-Commerce 1พันล้านเหรียญสหรัฐ ที่มา: ETDA ณ 2561

  • Internet Banking 1ล้านบัญชี ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย
    ณ กันยายน 2562

  • Mobile Banking 1ล้านบัญชี ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย
    ณ กันยายน 2562

เมนู
TH