การพัฒนาสภาพแวดล้อมด้านการเงิน
และการลงทุน

ที่มาและความสำคัญ

การพัฒนาสภาพแวดล้อมด้านการเงินและการลงทุน มีที่มาสำคัญจาก
พระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2561 ซึ่งกำหนดประเด็นเกี่ยวกับ
การสนับสนุนการให้บริการทางการเงินไว้ทั้งสิ้น 2 มาตรา

พระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ .ศ. 2561

มาตรา 7 (5)

กำหนดให้มีการส่งเสริมและสนับสนุนสถาบันการเงินไทยและต่างประเทศในการให้บริการทางการเงินใน EEC ให้มีความสะดวก รวดเร็ว และมีข้อจำกัดเพียงเท่าที่จำเป็นเพื่อการรักษาเสถียรภาพของระบบการเงินและระบบเศรษฐกิจของประเทศ

มาตรา 58

กำหนดให้ผู้ประกอบกิจการในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษมีสิทธิได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วย การควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินทั้งหมดหรือบางส่วน และสามารถใช้เงินตราต่างประเทศเพื่อชำระค่าสินค้าหรือบริการระหว่างผู้ประกอบกิจการในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ โดยเป็นไปตามหลักเกณฑ์และ

ประเด็นที่กำหนดไว้ภายใต้มาตราทั้ง 2 จึงนำไปสู่การศึกษาศูนย์กลางการเงินและการลงทุนในระดับสากล เพื่อเป็นต้นแบบ ในการจัดทำแนวทางพัฒนาสภาพแวดล้อมด้านการเงินและการลงทุนใน EEC เพื่อสนับสนุนการดำเนินธุรกิจ ธุรกรรมทั้งการเงินและธุรกรรมอื่นๆ ภายในพื้นที่อย่างครบวงจร อีกทั้งเพื่อเป็นอีกปัจจัยของความสำเร็จในการชักจูงและดึงดูดนักลงทุนเพื่อขับเคลื่อนภาคอุตาหกรรมและการพัฒนาภายใต้พื้นที่

แม้ว่าในปัจจุบัน ประเทศไทยจะมีศูนย์กลางทางการเงินที่สำคัญอยู่ที่กรุงเทพมหานครอย่างไรก็ตาม การขับเคลื่อนการพัฒนาสภาพแวดล้อมด้านการเงินและการลงทุนในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกไม่ได้เป็นไปเพื่อแข่งขันกับศูนย์กลางทางการเงินที่มีอยู่หากเป็นการส่งเสริมการดำเนินธุรกิจในพื้นที่

ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เล็งเห็นว่า หากจะพัฒนา EEC เป็นศูนย์กลางการเงินแข่งขันกับศูนย์กลางอื่นๆ อาจจะเป็นเรื่องยากและไม่ได้ใช้ศักยภาพของประเทศไทยอย่างเต็มที่ จึงเห็นว่าภาคการเงินควรจะเป็นฝ่ายสนับสนุน ภาคเศรษฐกิจจริง จึงเป็นที่มาของการพัฒนาและต่อยอดบริการการเงินในตลาดเงินและตลาดทุนของไทย ที่มีความหลากหลาย ทำให้นักลงทุนสามารถทำธุรกรรมทางการเงิน การระดมทุน และเข้าถึงบริการการเงินด้วยความคล่องตัว และในต้นทุนที่เหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กลุ่มบริษัทข้ามชาติ กลุ่มผู้ประกอบการไทยขนาดใหญ่ ที่ใช้เงินตราต่างประเทศเป็นหลัก

  •  

    วันที่ 25 ตุลาคม 2564

    สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ. ได้มีการแต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนการพัฒนาสภาพแวดล้อมทางการเงินใน EEC เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2564 โดยมีผู้แทนของ สกพ. ธปท. ก.ล.ต. และ ตลท.เป็นคณะทำงานร่วม โดยทั้ง 4 หน่วยงานมีความเห็นตรงกันว่าควรพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ให้เป็นแหล่งร่วมบริการทางการเงินพื้นที่นำร่องของกิจกรรมทางการเงินเพื่ออุตสาหกรรมและกิจกรรมเป้าหมายในพื้นที่ EEC ผ่านการขับเคลื่อนของ 3 กิจกรรมหลักประกอบด้วย

    • การพัฒนาแหล่งระดมทุน EEC (EEC Fundraising Venue)
    • แหล่งรวมบริการทางการเงินเพื่ออุตสาหกรรมและกิจกรรมเป้าหมายใน EEC
    • กิจกรรมด้านการเงินและการลงทุนเพื่อสนับสนุนกลุ่มผู้ประกอบการในห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ของอุตสาหกรรมเป้าหมายใน EEC และธุรกิจสตาร์ทอัพ (Start-Up)
    ลิงก์ข้อมูลเพิ่มเติม
  •  

    วันที่ 9 มีนาคม 2565

    คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ในการประชุมครั้งที่ 2/2565 เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2565 รับทราบการพัฒนาศูนย์กลางการเงินในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก โดยมีความเห็นเพิ่มเติมว่า การพัฒนาศูนย์กลางการเงินจะต้องมีการจัดลำดับความเร่งด่วนในการลงทุนของกิจกรรมต่างๆ ในพื้นที่ EEC อย่างรอบคอบ พิจารณาความเชื่อมโยงของกิจกรรมดังกล่าวให้มีการดำเนินการอย่างเป็นระบบและต่อยอดกิจกรรมเดิมที่มีอยู่ให้เข้มแข็งขึ้น โดยคำนึงถึงประโยชน์ที่ประชาชนได้รับจากการพัฒนาเป็นสำคัญประกอบกับให้กระทรวงการคลัง เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาศูนย์กลางการเงิน และศูนย์กลางระมทุนในพื้นที่ EEC ร่วม

  •  

    วันที่ 28 ธันวาคม 2565

    กพอ. ครั้งที่ 5/2565 เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2565 รับทราบผลการสำรวจความคิดเห็นต่อการพัฒนาแหล่งระดมทุน EEC และแนวทางการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับการเป็นแหล่งระดมทุน EEC พร้อมทั้งมอบหมายให้ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย สกพอ. ตลท. ก.ล.ต. และ ธปท. ร่วมขับเคลื่อนแหล่งระดมทุน EEC (EEC Fundraising Venue) ต่อไป

  •  

    วันที่ 8 มิถุนายน 2566

    สกพอ. ตลท. ก.ล.ต. และ รปท. แถลงข่าวร่วมกันในการร่วมมือพัฒนา แหล่งระดมทุนสำหรับกลุ่มธุรกิจที่มีการดำเนินกิจการในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ประกอบด้วยกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายพิเศษ กลุ่มธุรกิจเกี่ยวเนื่อง และกลุ่มธุรกิจที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศที่ใช้เงินตราต่างประเทศเป็นหลัก โดยพัฒนาระบบรองรับการระมทุน และการซื้อขาย หลักทรัพย์สำหรับกลุ่มผู้ระดมทุนเป้าหมายในพื้นที่ EEC ประกอบด้วย กลุ่มผู้ประกอบการขนาดใหญ่และขนาดกลางและธุรกิจสตาร์ทอัพ บนโครงสร้างพื้นฐาน (Platform) ของตลาดหลักทรัพย์ฯ

    ลิงก์ข้อมูลเพิ่มเติม
  •  

    วันที่ 18 ตุลาคม 2566

    สกพอ. ร่วมกับธนาคารกสิกรไทย ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือสนับสนุนการขับเคลื่อน การพัฒนาแหล่งระดมทุนและบริการทางการเงินเพื่อพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) หวังเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันระดับประเทศ พร้อมสร้างระบบนิเวศการลงทุนสีเขียวเป็น

    ลิงก์ข้อมูลเพิ่มเติม
  •  

    วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2567

    สกพอ. ร่วมกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ การพัฒนาสภาพแวดล้อมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมเป้าหมายในอีอีซี เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการในพื้นที่อีอีซี ให้มีศักยภาพ พัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือบริการที่ตอบโจทย์ และสามารถยกระดับห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ของอุตสาหกรรมเป้าหมายในพื้นที่อีอีซี ให้มีความเป็นสากล อีกทั้งร่วมเป็นพันธมิตรในการขับเคลื่อนโครงการที่มีความสำคัญต่อการสร้างระบบนิเวศรองรับ การลงทุน ให้พื้นที่อีอีซี

    ลิงก์ข้อมูลเพิ่มเติม
  •  

    วันที่ 1 เมษายน 2567

    สกพอ. มีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อพัฒนาแหล่งระดมทุนสำหรับผู้ประกอบกิจการในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก โดยมีผู้แทนจาก ตลท. ก.ล.ต. และ ธปท. ร่วมเป็นคณะทำงาน เพื่อร่วมจัดเตรียมระเบียบหลักเกณฑ์และเงื่อนไขพร้อมระบบโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อรองรับการพัฒนาแหล่งระดมทุนสำหรับ ผู้ประกอบกิจการในอีอีซี

    ลิงก์ข้อมูลเพิ่มเติม
  •  

    วันที่ 15 พฤษภาคม 2567

    สกพอ. ร่วมกับธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) หรือ EXIM BANK ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ เพิ่มเติมแนบท้าย บันทึกข้อตกลงความร่วมมือเรื่อง การส่งเสริมการลงทุนและบริการทางการเงิน เพื่อพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เพื่อร่วมกันพัฒนาระบบนิเวศ ที่เอื้อต่อการลงทุน และสนับสนุนการให้บริการทางการเงินในพื้นที่อีอีซีต่อเนื่อง

    ลิงก์ข้อมูลเพิ่มเติม

สภาพแวดล้อมด้านการเงินและ การลงทุนใน EEC

รายละเอียด
เมนู
TH