ความเป็นมาของ อีอีซี

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย กำหนดให้มี "ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี"
เป็นยุทธศาสตร์ในการพัฒนาประเทศในระยะยาว โดยมีวัตถุประสงค์
เพื่อยกระดับคุณภาพของประเทศในทุกภาคส่วน และพัฒนาประเทศไทย
ไปสู่การเป็นประเทศที่มีรายได้สูง อยู่ในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว

นโยบาย Thailand 4.0 จะช่วยยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน
ของภาคการผลิตและภาคบริการ บนฐานของเทคโนโลยีสมัยใหม่และนวัตกรรม
โดยเน้นการพัฒนาใน 12 อุตสาหกรรมเป้าหมาย

Government Initiative
Government Initiative
Government Initiative
Government Initiative
Government Initiative
Government Initiative
Government Initiative
Government Initiative
 
 
 
Government Initiative
Government Initiative
Government Initiative

ภาพรวม อีอีซี

อดีตที่เข้มแข็ง

โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี)
เป็นโครงการพัฒนาพื้นที่โดยมีวัตถุประสงค์หลัก
เพื่อต่อยอดการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก
ซึ่งเป็นที่รู้จักกว่า 30 ปี หรือที่เรียกว่า อีสเทิร์นซีบอร์ด

โครงการ อีอีซี มุ่งเน้นการพัฒนาพื้นที่ 3 จังหวัด
ในภาคตะวันออก ได้แก่ ระยอง ชลบุรี และฉะเชิงเทรา
แผนการพัฒนาอีอีซี เล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาพื้นที่ ทั้งทางกายภาพและทางสังคม เพื่อเป็นการยกระดับ ความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

พื้นที่ 5,351 ตร.กม.
จำนวนประชากร 785,973
GDP (ล้านบาท) 348,271
GDP ต่อหัว 443,108
สัดส่วนของ GDP ประเทศไทย 2.2%
พื้นที่ 4,363 ตร.กม.
จำนวนประชากร 1,567,000
GDP (ล้านบาท) 1,040,474
GDP ต่อหัว 663,991
สัดส่วนของ GDP ประเทศไทย 6.4%
พื้นที่ 3,552 ตร.กม.
จำนวนประชากร 908,778
GDP (ล้านบาท) 989,486
GDP ต่อหัว 1,088,809
สัดส่วนของ GDP ประเทศไทย 6.1%

สู่อนาคตที่สดใส

ด้วยโครงสร้างการกำกับดูแลและการกำหนดนโยบายที่ชัดเจน
ทำให้แผนการพัฒนาอีอีซีได้รับการวางแผนอย่างละเอียดรอบคอบ 

โครงการโครงสร้างพื้นฐานของอีอีซีได้รับการพัฒนาแบบบูรณาการ 
เพื่อเป็นประตูสำคัญสู่ทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเอเชียแปซิฟิก
ในไม่กี่ปีข้างหน้า

ประเทศไทย (2562)

อัตราเงินเฟ้อ ( % ) 0.7

GDP ( พันล้านเหรียญสหรัฐ ) 544.1

อัตราการขยายตัวของ GDP  ( % ) 2.4

GDP ต่อหัว (ดอลลาร์สหรัฐ ) 8,170.2

ที่มา: สศช. CEIC

Government Initiative
 

อันดับของประเทศไทยในระดับโลก เอเชีย และอาเซียน

ดัชนีชี้วัด ปี คะแนน
(เต็ม 100)
อันดับ
โลก
อันดับใน
เอเชีย
อันดับใน
อาเซียน
ดัชนีชี้วัดความยากง่ายในการประกอบธุรกิจ 2563 80.10 21 5 3
ดัชนีความสามารถทางการแข่งขันระดับโลก 4.0 2562 68.10 40 10 3
ดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ 2561 3.41 32 9 2
ดัชนีความสามารถทางการแข่งขันระดับโลก(สถาบัน IMD) 2562 79.45 25 11 3
อันดับความสามารถในการแข่งขันทางดิจิทัล(สถาบัน IMD) 2562 68.43 40 10 3
ดัชนีวัดศักยภาพการแข่งขันด้านทรัพยากรมนุษย์ของโลก 2563 41.3 67 20 6
ดัชนีนวัตกรรมระดับโลก 2562 38.63 43 10 4
ดัชนีการพัฒนาอย่างทั่วถึง* 2561 4.24 17 2 2

*จัดอันดับเฉพาะประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่

ที่มา: ธนาคารโลก, IMD Business School, INSEAD, องค์การทรัพย์สินทางปัญญาแห่งโลก และสภาเศรษฐกิจโลก

แผนการพัฒนาพื้นที่ อีอีซี

แผนการพัฒนาพื้นที่อีอีซี ถูกบรรจุในยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
และประกอบไปด้วย

  1. แผนปฏิบัติการการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน

  2. แผนปฏิบัติการการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล

  3. แผนปฏิบัติการการพัฒนาศูนย์กลางธุรกิจ และศูนย์กลางการเงิน

  4. แผนปฏิบัติการการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมาย

  5. แผนปฏิบัติการการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยว

  6. แผนปฏิบัติการการพัฒนาบุคลาการ การศึกษา การวิจัย และเทคโนโลยี

เมนู
TH