อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ

การพัฒนาเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน

ประเทศไทยมุ่งมั่นที่จะสร้าง ความมั่นคงทางด้านพลังงานที่ยั่งยืน และลดการพึ่งพาพลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิล

 

ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพและทรัพยากรธรรมชาติ รู้หรือไม่ว่า ประเทศไทยมีจุลินทรีย์ราว 150,000-200,000 ชนิด คิดเป็นร้อยละ 8-10 ของจุลินทรีย์ที่คาดว่ามีอยู่ในโลก และมีสายพันธุ์พืชไม่น้อยกว่า 12,000 ชนิด คิดเป็นร้อยละ 8 ของสายพันธุ์ทั้งหมดที่คาดว่ามีอยู่ในโลก

 

 

 
 
 

ประเทศไทยเป็นแหล่งทรัพยากรชีวภาพที่สมบูรณ์ ประเทศไทยเป็นผู้นำด้านการเกษตรของโลก โดยมีรากฐานการผลิตสินค้าทางการเกษตรที่แข็งแกร่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน อีอีซี ซึ่งเป็นพื้นที่ปลูกอ้อยและมันสำปะหลังที่สำคัญของประเทศ รวมถึงมีระบบนิเวศที่เอื้อต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ

นโยบายสนับสนุนเศรษฐกิจ
สีเขียว
ประเทศไทยได้กำหนดเป้าหมายการใช้ไบโอดีเซลที่ 14 ล้านลิตรต่อวันและไบโอเอทานอลที่ 11.3 ล้านลิตรต่อวัน ภายในปี พ.ศ. 2579 โดยปัจจุบันประเทศไทยมีความสามารถในการผลิต Polylactic Acid (PLA) สูงถึง 20,000 ตันต่อปี นอกจากนี้ยังมีทรัพยากรสำหรับการวิจัยและพัฒนา และศูนย์วิจัยต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมนี้อีกด้วย เช่น
อุทยานวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย BIOTEC TCELS และ PTIT

ในภาพรวม

อันดับ1 ของอาเซียน

ผู้ผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ
(2562)

อันดับ1

ผู้ส่งออกมันสำปะหลัง
(2562)

อันดับ1ของอาเซียน

ผู้ผลิตพลาสติกชีวภาพ
(2562)

อุตสาหกรรมเป้าหมาย

เมนู
TH