รถไฟความเร็วสูง
เชื่อม 3 สนามบิน

โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินเป็นโครงการที่ใช้โครงสร้างและแนวเส้นทางการเดินรถเดิมของระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแอร์พอร์ตลิงค์ (Airport Rail Link) ที่เปิดให้บริการอยู่ในปัจจุบัน โดยจะก่อสร้างทางรถไฟขนาด 1.435 เมตร (Standard Gauge) ส่วนต่อขยาย 2 ช่วงจากสถานีพญาไท ไปยังสนามบินดอนเมือง และจากสถานีลาดกระบัง
ไปยังสนามบินอู่ตะเภา พร้อมเชื่อมเข้าออกสนามบิน โดยใช้เขตทางเดิมของการรถไฟฯ เป็นส่วนใหญ่
รวมระยะทาง 220 กม. มีผู้เดินรถรายเดียวกัน ซึ่งรถไฟความเร็วสูงมีความเร็วสูงสุด 250 กิโลเมตร/ชั่วโมง เชื่อมกรุงเทพฯ กับพื้นที่ อีอีซี ภายในระยะเวลาไม่เกิน 60 นาที
ประกอบไปด้วยสถานีรถไฟความเร็วสูงจำนวน 9 สถานี ได้แก่

โครงสร้างทางวิ่งของโครงการ ประกอบไปด้วย

ทางวิ่งโครงการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ปัจจุบัน (ARL) ระยะทางประมาณ 29 กิโลเมตร และทางวิ่งที่ต้องก่อสร้างใหม่ประมาณ 191 กิโลเมตร โดยเบื้องต้นจำแนกลักษณะรูปแบบโครงสร้างทางวิ่งทั้งโครงการเป็น 3 ประเภท ได้แก่

1 ทางวิ่งยกระดับระยะทางประมาณ 181 กิโลเมตร
2 ทางวิ่งระดับดินระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร
3 ทางวิ่งใต้ดินระยะทางประมาณ 8 กิโลเมตร

การพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุน
บริการรถไฟในพื้นที่มักกะสันของ รฟท.
ประมาณ 150 ไร่

ต้องเป็นการพัฒนาร่วมไปกับการพัฒนารถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในการสนับสนุนบริการรถไฟและบริการผู้โดยสาร รวมทั้งพื้นที่โดยรอบสถานีศรีราชา ประมาณ 25 ไร่
ซึ่งสามารถนำมาพัฒนาเชิงพาณิชย์ร่วมกับโครงการได้ทันที

gateway to asian gateway to asian

ที่ตั้งโครงการ

แนวเส้นทางโครงการผ่านพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่
กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง
ใช้แนวเส้นทางระบบขนส่งมวลชนทางรางของโครงการเดิม
และมีการออกแบบใหม่เฉพาะบริเวณเชื่อมต่อเข้า
สนามบินสุวรรณภูมิ (ขาออก) และสนามบินอู่ตะเภา (ขาเข้า)

โดยแนวเส้นทางโครงการประกอบด้วย 3 โครงการ คือ

  • โครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและสถานีรับส่ง ผู้โดยสารอากาศยานในเมือง (Suvarnabhumi Airport Link and City Air Terminal: ARL)
  • โครงการระบบรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ส่วนต่อขยาย ช่วงดอนเมือง-บางซื่อ-พญาไท (ARL Extension)
  • โครงการรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพ-ระยอง

แนวเส้นทางโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน

ที่ตั้งโครงการ

 

แนวเส้นทางโครงการผ่านพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่
กรุงเทพมหานคร จ.สมุทรปราการ จ.ฉะเชิงเทรา จ.ชลบุรี และจ.ระยอง
ใช้แนวเส้นทางระบบขนส่งมวลชนทางรางของโครงการเดิมและมีการออกแบบใหม
เฉพาะบริเวณเชื่อมต่อเข้าสนามบินสุวรรณภูมิ (ขาออก)
และสนามบินอู่ตะเภา (ขาเข้า)

โดยแนวเส้นทางโครงการประกอบด้วย 3 โครงการ คือ

  • โครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและสถานีรับส่ง ผู้โดยสารอากาศยานในเมือง (Suvarnabhumi Airport Link and City Air Terminal: ARL)
  • โครงการระบบรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ส่วนต่อขยาย ช่วงดอนเมือง-บางซื่อ-พญาไท (ARL Extension)
  • โครงการรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพ-ระยอง

แนวเส้นทางโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน

สภาพแวดล้อมที่ตั้งโครงการปัจจุบัน

ที่ตั้งโครงการปัจจุบันมีรถไฟที่เปิดให้บริการแล้ว ได้แก่ รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ (ช่วงพญาไทถึงสนามบินสุวรรณภูมิ) รถไฟทางสาม (ช่วงหัวหมากถึงฉะเชิงเทรา) รถไฟทางคู่ (ช่วงดอนเมืองถึงยมราช และช่วงฉะเชิงเทราถึงแหลมฉบัง) และรถไฟทางเดี่ยว (ช่วงยมราชถึงหัวหมาก และช่วงแหลมฉบังถึงมาบตาพุด)

วัตถุประสงค์ของโครงการ

องค์ประกอบโครงการ

มูลค่าการลงทุนโครงการให้เอกชนเข้าร่วมทุน ณ วันที่เริ่มต้นโครงการ

1.

ระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานดอนเมือง สุวรรณภูมิ และอู่ตะเภา

เงินลงทุนเริ่มต้น ล้านบาท
ค่าเวนคืนที่ดิน 3,570.29
ค่าก่อสร้างงานโยธาและงานวางราง (Civil and Track Works) 113,303.88
ค่าก่อสร้างงานโยธาสำหรับโครงการสายสีแดง Missing Link เพื่อสร้างอุโมงค์ช่วงจิตรลดา และรถไฟ ความเร็วสูงสายเหนือ และสายตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วงบางซื่อ – ดอนเมือง 7,210.67
ค่างานระบบรถไฟฟ้า (M&E Works) 24,712.00
ค่างานจัดหาตู้รถไฟฟ้า (Rolling Stocks) 15,491.32
ค่าวิศวกรที่ปรึกษา (ควบคุมงานก่อสร้าง และ
ตรวจสอบอิสระ, ICE)
4,429.84
รวม 168,718.00
2.

การพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟ

เงินลงทุนเริ่มต้น ล้านบาท
บริเวณสถานีรถไฟแอร์พอร์ตลิงก์มักกะสัน 40,193.26
บริเวณสถานีรถไฟความเร็วสูงศรีราชา 3,513.01
เงินลงทุนสาธารณูปโภค ทางเข้าออก
และสะพานล้อเลื่อน
1,449.00
รวม 45,155.27
3.

รวมมูลค่าโครงการ

เงินลงทุนเริ่มต้น ล้านบาท
ระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานดอนเมือง สุวรรณภูมิ และอู่ตะเภา 168,718.00
การพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟ 45,155.27
สิทธิการเดินรถไฟแอร์พอร์ตลิงก์ 10,671.09
รวม 224,544.36

ระยะเวลาในการดำเนินโครงการ

(ก่อสร้างและให้บริการ) ให้เอกชนร่วมทุนฯ

50 ปี

ผลตอบแทนโครงการ

1

ลดต้นทุนโลจิสติกส์ของประเทศ

2

การถ่ายทอดเทคโนโลยีขั้นสูง

3

ทรัพย์สินทั้งหมดตกเป็นของรัฐหลังสิ้นสุดสัญญา

4

ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ 50,900 ล้านบาท (IRR = 14.2%)

  • มูลค่าการลงทุนประมาณ 224,000 ล้านบาท

    (รถไฟ 170,000 ล้านบาท และพัฒนาพื้นที่ 54,000 ล้านบาท)

  • ผลประโยชน์ที่ภาครัฐจะได้รับ
    • รายได้จากค่าเช่าที่

    • รายได้ค่าให้สิทธิ ARL

    • ส่วนแบ่งรายได้ค่าโดยสาร

    • รายได้จากภาษี

 

รูปแบบการให้เอกชนร่วมลงทุน

PPP Net Cost 50 ปี

ระยะเวลาโครงการ :

5 ปี

ออกแบบและก่อสร้าง

45 ปี

ระยะเวลาดำเนินการ

หน้าที่และความรับผิดชอบของรัฐและเอกชน

ส่วนรถไฟ

รายการ รัฐ เอกชน
เวนคืนที่ดินและส่งมอบพื้นที่
สิทธิต่างๆที่เกี่ยวข้อง สิทธิดำเนินกิจการรถไฟ สิทธิในการเดินรถ ARL
ค่าโครงสร้างร่วมอื่น
ก่อสร้างงานโยธา
จัดหาและติดตั้งระบบไฟฟ้าเครื่องกล
จัดหาและติดตั้งขบวนรถไฟ
ดำเนินการและซ่อมบำรุง
เก็บรายได้ค่าโดยสารและเชิงพาณิชย์
รัฐจะให้เงินสนับสนุนต่อเอกชน

ส่วนพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟ

รายการ รัฐ เอกชน
ส่งมอบพื้นที่ และสิทธิการใช้ที่ดิน
พัฒนาพื้นที่
พัฒนาสาธารณูปโภค
ดำเนินการและซ่อมบำรุง
เก็บรายได้การพัฒนา
เอกชนจ่ายค่าเช่าที่ดินให้ รฟท.
แผนการปฎิบัติงาน (Timeline)
ประกาศเชิญชวนนักลงทุน ต้นพฤษภาคม 2561
เอกชนยื่นข้อเสนอ พฤศจิกายน 2561
ประกาศผลผู้ได้รับการคัดเลือก เมษายน 2562
ลงนามสัญญาร่วมทุน 24 ตุลาคม 2562
เปิดให้บริการ 2572
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง https://www.hsr3airports.or.th/
 
เมนู
TH